รีไฟแนนซ์ VS ลดดอกเบี้ยธนาคารเดิม แบบไหนประหยัดเงินได้มากกว่า

รีไฟแนนซ์ VS ลดดอกเบี้ยธนาคารเดิม แบบไหนประหยัดเงินได้มากกว่า

เชื่อว่าหลายคนที่กำลังผ่อนบ้านอาจเกิดข้อสงสัยว่า ระหว่างการขอลดดอกเบี้ยบ้าน กับ รีไฟแนนซ์ แบบไหนจะช่วยประหยัดเงินได้มากกว่ากัน

การเงิน การขอลดดอกเบี้ยบ้านกับธนาคารเดิม (Retention) คือ การขอเจรจาต่อรองกับธนาคารเดิมที่ผ่อนอยู่ว่าสามารถขอลดดอกเบี้ยได้หรือเปล่า ซึ่งธนาคารจะพิจารณาถึงประวัติการชำระหนี้ของลูกหนี้ เหมาะกับลูกหนี้ที่จ่ายเงินตรงเวลาทุกงวด ซึ่งการขอลดดอกเบี้ยบ้านธนาคารเดิมก็ไม่ยุ่งยาก เพราะธนาคารมีประวัติและข้อมูลลูกหนี้อยู่แล้วอีกทั้งค่าดำเนินการก็ไม่สูง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขธนาคารด้วย แต่ก็ต้องยอมรับว่าดอกเบี้ยที่จะลดให้ไม่เยอะเท่าไหร่ทางเว็บไซต์ ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ศคง.) ได้อธิบายว่า รีไฟแนนซ์บ้าน คือ การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เพื่อมาขอกู้จากผู้ให้สินเชื่ออีกแห่งหนึ่งแทน โดยผู้ให้สินเชื่อมักจะเสนอดอกเบี้ยต่ำในช่วงปีแรก การไปเริ่มกู้กับธนาคารแห่งใหม่เมื่อหมดช่วงเวลาที่ได้ดอกเบี้ยต่ำแล้วมักจะได้ดอกเบี้ยที่ถูกลง จึงมีการนำเสนอให้ผู้ขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์ หรือไถ่ถอนหนี้จากผู้ให้สินเชื่อเดิมเพื่อมาขอกู้จากผู้ให้ สินเชื่ออีกแห่งที่เสนอจะลดอัตราดอกเบี้ยหรือมีข้อเสนออื่นๆ มาจูงใจ ทุกครั้งที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ ต้องคำนวณให้ดีก่อนว่าคุ้มค่าหรือไม่ โดยเปรียบเทียบว่าเงินที่ประหยัดได้จากดอกเบี้ยที่ลดลงมากกว่า หรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่ต้องเริ่มกระบวนการพิจารณาสินเชื่อใหม่ทั้งหมด เช่น ค่าจดจำนองหลักประกัน ค่าใช้จ่ายในการประเมินมูลค่าหลักประกัน ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทำประกัน ค่าปรับให้แก่เจ้าหนี้เก่า ในกรณีที่ยุติการกู้ก่อนระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา

รีไฟแนนซ์ VS ลดดอกเบี้ยธนาคารเดิม แบบไหนประหยัดเงินได้มากกว่า

หากพบว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูง หรือเสียเวลาใ การดำเนินการมาก แต่ช่วยให้ประหยัดเงินได้น้อย การใช้บริการผู้ให้สินเชื่อเดิมอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

ตัวอย่าง การประมาณการเพื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ เพื่อประเมินเบื้องต้น ข่าวการเงิน ก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ นาย ก ได้กู้เงินซื้อบ้านจากธนาคาร A เป็นเงิน 2,200,000 บาท โดยกู้มาแล้ว 2 ปี ขณะที่เงินต้นคงเหลือ 2,000,000 บาท อัตราดอกเบี้ยที่จ่ายอยู่เดิมคือ 7% โดยนาย ก กำลังตัดสินใจว่าจะรีไฟแนนซ์ไปธนาคาร B ซึ่งจะคิดอัตราดอกเบี้ย 3% เป็นเวลา 3 ปี หลังจากนั้นเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัว (ให้สันนิษฐานว่าหลังจากหมดโปรโมชั่นแล้ว จะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว ซึ่งเท่ากับอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินเดิม) แต่นาย ก ต้องจ่ายค่าปรับเป็นจำนวนเงิน 3% ของยอดคงค้าง เพราะเพิ่งจะกู้ไม่ถึง 3 ปี ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ ค่าใช้จ่ายในการรีไฟแนนซ์

ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ = ?
? = AxBxC

A = เงินต้น
B = อัตราดอกเบี้ยที่ประหยัดได้
C = จำนวนปีที่ได้โปรโมชั่น

A = อัตราดอกเบี้ยที่อยู่สถาบันเดิม – อัตราดอกเบี้ยสถาบันที่จะรีไฟแนนซ์

B = จำนวนปีที่สถาบันการเงินแห่งใหม่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าสถาบันการเงินเดิม

จากตัวอย่างคำนวณได้ว่า ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ (ประมาณ)
=2,000,000 x (7-3)/100 x 3
= 240,000 บาท

ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่หน่วยงานราชการ ค่าจดจำนองหลักประกัน (1% ของวงเงินจำนอง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้แต่ไม่เกิน 10,000 บาท) ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินแห่งใหม่ ค่าประเมินหลักประกัน ค่าปรับที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินเดิม เช่น ถ้าผ่อนส่งยังไม่ครบจำนวนปีที่กำหนด ก็จะต้องจ่ายค่าปรับ เช่น 3% จากเงินต้นคงค้าง ทั้งนี้ แต่ละสถาบันการเงินอาจกำหนดค่าใช้จ่าย และค่าปรับไว้แตกต่างกัน ดังนั้น ควรสอบถามเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจจากตัวอย่าง คำนวณได้ดังนี้

ค่าจดจำนองบ้าน
=20,000 บาท (2,000,000×1/100)
ค่าอากรแสตมป์
=1,000 บาท (2,000,000×0.05/100)
ดอกเบี้ยที่ประหยัดได้ทั้งสิ้นราว = 240,000 บาท ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 84,000 บาท
*การคำนวณข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่าง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากสถาบันการเงินแต่ละแห่งเมื่อคำนวณแล้ว การรีไฟแนนซ์ตามตัวอย่างนี้จะประหยัดเงินได้ราว 240,000-84,000 = 156,000 บาทเห็นได้ชัดว่า การรีไฟแนนซ์กับธนาคารใหม่ หรือการขอลดดอกเบี้ยของธนาคารเดิมที่กู้ ล้วนแต่จะช่วยลดดอกเบี้ย แต่ดอกเบี้ยที่จะได้ลดลง หรือประหยัดเงินได้มากขึ้นนั้นแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ถึงกระนั้นก็อย่าลืมเปรียบเทียบโปรโมชั่นของแต่ละธนาคาร และควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดก่อนตัดสินใจด้วยนะ

แนะนำข่าวการเงิน อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ดาวโจนส์ปิดบวก 112 จุด ได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้น