เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

ธนาคารโลก เตือน ปี 2566 ภาวะเศรษฐกิจถดถอยคืบคลานในหลายประเทศ พร้อมหั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536

เศรษฐศาสตร์ ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง หั่น GDP ทั่วโลกเหลือโต 1.7% โตช้าสุดนับตั้งแต่ปี 2536 ธนาคารโลก (World Bank) ปรับคาดการณ์การเติบโตในปี 2566 ลงเหลือระดับที่ใกล้จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในหลายประเทศ โดยในรายงาน Global Economic Prospects ฉบับล่าสุด มีการคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของทั่วโลก (GDP) เหลือเติบโตเพียง 1.7% อานิสงส์จีนเปิดประเทศ ดันภาคโรงแรมคึกคัก ลุ้นช่วง ก.พ. ทำสถิติสูงสุด หวั่นแรงงานไม่พอรองรับ จากเดิมที่มีการคาดการณ์และเผยแพร่รายงานเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปี 2565 ว่าจะเติบโตที่ประมาณ 3.0% ซึ่งเป็นอัตราที่สะท้อนให้เห็นถึงการเติบโตช้าที่สุดนับตั้งแต่ปี 2536 ที่นอกเหนือจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2552 ที่กระทบจากวิกฤติซับไพรม์ และ 2563 ที่กระทบจากวิกฤติโควิด ตลาดเกิดใหม่น่าห่วงสุด หลังเผชิญภาวะหนี้ท่วม ทั้งนี้ธนาคารโลกได้ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป ลงเหลือ 0.5% อาจบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยรอบใหม่ทั่วโลกน้อยกว่า 3 ปี หลังจากเกิดครั้งล่าสุด ขณะที่การเติบโตของจีนในปี 2565 ที่ผ่านมาลดลงเหลือ 2.7% ซึ่งเป็นอัตราที่ช้าที่สุดเป็นอันดับ 2 นับตั้งแต่กลางปี 1970 ซึ่งเป็นระยะแรกของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน เนื่องจากข้อจำกัดจากนโยบายโควิดเป็นศูนย์ของรัฐบาลจีน

เวิลด์แบงก์ เตือน ปี 66 เศรษฐกิจถดถอยคืบคลานทั่วโลก หั่น GDP สู่ระดับต่ำสุดในรอบ 30 ปี

อีกทั้งยังมีความวุ่นวายในตลาดอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อการบริโภค การผลิต และการลงทุน ในปี 2566 ธนาคารโลกคาดว่าการเติบโตของจีนจะดีดตัวขึ้นเป็น 4.3%

แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์ในเดือนมิถุนายน 0.9% ส่วนการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ และประเทศที่กำลังพัฒนา ข่าวเศรษฐศาสตร์  ต่างเผชิญความท้าทายกับภาระหนี้จำนวนมหาศาล เงินที่อ่อนค่า รวมถึงการลงทุนของภาคธุรกิจที่ชะลอตัวลง โดยธนาคารโลกคาดว่าแนวโน้มการลงทุนธุรกิจจะเติบโตในอัตรา 3.5% ต่อปีในช่วง 2 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นอัตราที่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโคในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เฝ้าระวังวิกฤติซัพพลายเชน อาจกดดันเศรษฐกิจเลวร้ายลง สำหรับสาเหตุที่กดดันการเติบโตทางเศรษฐกิจโดยรวมของโลกนั้น เป็นการรับผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางที่ทวีความรุนแรงขึ้น ความยืดเยื้อของสงครามของรัสเซียในยูเครน ทั้งนี้ธนาคารโลกยังระบุอีกว่า ด้วยสภาพเศรษฐกิจที่เปราะบาง การพัฒนาเชิงลบ อย่างอัตราเงินเฟ้อที่สูงกว่าที่คาดไว้ จนนำมาสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างกะทันหันเพื่อควบคุมการกลับมาระบาดอีกครั้งของโควิด ตลอดจนความตึงเครียดทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงขึ้น เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันให้เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอยทั้งสิ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้ว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อเริ่มลดลงเมื่อช่วงสิ้นปี 2565 จากการที่ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ลดลง แต่ยังมีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังอยู่ โดยเฉพาะการเกิดวิกฤติซัพพลาย ที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอาจสูงขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจกดดันธนาคารกลางตอบโต้ด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายมากกว่าที่คาดไว้ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกเลวร้ายลงกว่าเดิม.

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : ยูโอบีคาดจีดีพีไทยปีนี้โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น-ส่งออกยังแกร่ง

ยูโอบีคาดจีดีพีไทยปีนี้โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น-ส่งออกยังแกร่ง

ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย เผยรายงานวิจัยล่าสุดคาดการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปี 2566 เติบโตอย่างต่อเนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามามากขึ้น

เศรษฐศาสตร์ ผลักดันการบริโภคและการใช้จ่ายภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือจีดีพี (GDP) สามารถเติบโตถึงร้อยละ 3.7 ในปีนี้ นายเอ็นริโก้ ทานูวิดฮาฮา นักเศรษฐศาสตร์ Global Economic and Market Research ของธนาคารยูโอบี เผยว่า ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประเทศไทยเริ่มต้อนรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนที่กลับเข้ามาอีกครั้งหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งถือว่าเร็วกว่าที่เราคาดการณ์ไว้ และส่งผลดีให้ภาคธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณที่ดีจากภาคธุรกิจบริการที่เริ่มฟื้นตัว รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยกระตุ้นการบริโภคและการใช้จ่ายในประเทศ ดังนั้น สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้จะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในแต่ละไตรมาส โดยยูโอบีประเมินว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะสามารถขยายตัวได้ถึงร้อยละ 3.7 และอัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ร้อยละ 2.7 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ท่องเที่ยวที่เป็นแรงสนันสนุนหลักทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจในปีนี้มีความสดใส นอกจากนี้ ผลพวงจากจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่จะเดินทางกลับมาเข้าอีกครั้งหลังจากนโยบายการเปิดพรมแดน จะทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีแรก ค่าเงินบาทอาจได้รับผลกระทบจากความท้าทายของเศรษฐกิจโลกในระดับมหาภาค ทำให้เคลื่อนไหวอ่อนตัวลงไปอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก ก่อนจะกลับมาแข็งแกร่งและไต่ระดับไปถึง 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีหลัง “โดยรวมภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะอยู่ในเกณฑ์ที่แข็งแกร่งจากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจต่างๆ

ยูโอบีคาดจีดีพีไทยปีนี้โต 3.7% รับอานิสงส์ท่องเที่ยวจีนฟื้น-ส่งออกยังแกร่ง

โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจหลักในประเทศ”

สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มส่งสัญญาณฟิ้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีที่แล้วทำให้ใน ข่าวเศรษฐศาสตร์  ปีนี้สถานการณ์เศรษฐกิจของ ประเทศไทยมีโอกาสจะเติบโตได้ถึงร้อยละ 3-4 เห็นได้จากจีดีพีของปี 2565 กลับมาเติบโตอยู่ที่ร้อยละ 4.5 จากมูลค่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และรายได้ท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ มูลค่าการอุปโภคบริโภคระดับครัวเรือนมีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี และค่าใช้จ่ายในภาคบริการปรับตัวสูงขึ้นถึงร้อยละ 15.8 จากการใช้จ่ายที่สูงขึ้นในภาคธุรกิจร้านอาหาร ท่องเที่ยว สันทนาการ และวัฒนธรรม ดังนั้นยูโอบีจึงเชื่อมั่นว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3.7 ในปีนี้ จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะช่วยเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศควบคู่ไปกับภาคส่งออกที่แข็งแกร่งขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่ขาลง นับแต่ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยได้ขึ้นไปแตะที่จุดสูงสุดก่อนจะทยอยปรับระดับลงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากราคาพลังงานที่ปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการฟื้นตัวของระบบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และกระจายสินค้าของรายการอาหารบางชนิดที่ช่วยลดแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อต่ำลง สำหรับปี 2566 ยูโอบีประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยจะลอยตัวอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) จะขึ้นไปแตะที่ร้อยละ 3.9 ในช่วงครึ่งปีแรก และจะคงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ในช่วงครึ่งปีหลัง จากความต้องการบริโภคที่ลดลงเพราะระบบห่วงโซ่อุปทานโลกปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น ประกอบกับสถานการณ์พลังงานและราคาสินค้าทั่วโลกอยู่ในเกณฑ์ที่ทรงตัว (moderate) และ ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) จะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อนี้สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประเมินอยู่ที่ร้อยละ 2-3 ด้านค่าเงินบาททีมนักวิเคราะห์ของยูโอบีประเมินว่าในปีนี้ ค่าเงินบาทจะอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคเอเชีย และกับดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจัยต่างๆ เช่น การใช้นโยบายการเงินอย่างผ่อนปรนและยืดหยุ่นของธนาคารแห่งประเทศไทยเมื่อเทียบกับธนาคารกลางอื่นๆ ในภูมิภาค รวมถึงระดับอัตราดอกเบี้ยทั่วภูมิภาคยังอยู่ในระดับต่ำ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคธุรกิจท่องเที่ยว และการเปิดพรมแดนของจีนจะช่วยบรรเทาความท้าทายเหล่านี้ และส่งผลให้ค่าเงินบาทยังสามารถรักษาระดับความแข็งแกร่งไว้ได้เมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยูโอบีประเมินว่าดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศไทยจะกลับมาเกินดุลอีกครั้งที่ร้อยละ 2.8 ของจีดีพี ซึ่งจะเป็นแรงสนับสนุนเพิ่มเติมทำให้ค่าเงินบาทซึ่งอ่อนตัวและเคลื่อนไหวอยู่ที่ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในช่วงครึ่งปีแรก จะกลับมาแข็งค่าอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสสุดท้าย

แนะนำข่าวเศรษฐศาสตร์ อ่านเพิ่มเติมคลิ๊กเลย : จี้รัฐแก้ไขต้นทุนอาหารสัตว์พุ่ง กดดันราคาไข่ขึ้นต่อไปไม่หยุด

จี้รัฐแก้ไขต้นทุนอาหารสัตว์พุ่ง กดดันราคาไข่ขึ้นต่อไปไม่หยุด

นางพเยาว์ อริกุล นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงไก่ไข่รายย่อยภาคกลาง เปิดเผยว่า ปัจจุบันไข่ไก่มีต้นทุนการผลิตสูงถึง 3.45-3.50 บาทต่อฟอง สูงกว่าช่วงปกติถึง 30%

จี้รัฐแก้ไขต้นทุนอาหารสัตว์พุ่ง

ข่าว เกิดจากราคาธัญพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์พุ่งสูงขึ้นอย่างมากและยืนแข็งในเกณฑ์สูงมาต่อเนื่องโดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และกากถั่วเหลือง ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญของอาหารเลี้ยงไก่ไข่ เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่แทบจะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนสูงต่อไปได้อีก เครือข่ายสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ ซึ่งประกอบด้วย สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่แปดริ้ว จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ชลบุรี จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชียงใหม่-ลำพูน จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ลุ่มแม่น้ำน้อย จำกัด จึงประกาศขยับราคาขายขึ้นเป็น 3.60 บาทต่อฟองเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน และคาดว่าอาจต้องขยับอีกหากต้นทุนยังพุ่งไม่หยุด วอนภาครัฐเร่งแก้ปัญหาวัตถุดิบ และขอพี่น้องประชาชนโปรดเข้าใจสถานการณ์ เพราะไม่มีใครอยู่รอดได้หากต้องขายของในราคาขาดทุน “ปัจจุบันข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีราคาสูงถึง 13.40 บาท/กก. และกากถั่วเหลืองมีราคาถึง 23.70 บาท/กก. โดยมีการคาดการณ์กันว่าราคาวัตถุดิบในปี 2566 นี้มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีก 10% และรัฐปล่อยให้ราคาวัตถุดิบสูงอยู่เช่นนี้มานาน ควรเร่งหาทางแก้ไขและเปิดทางราคาขายผลผลิตให้สอดคล้องกับต้นทุน ข่าวเศรษฐศาสตร์ เพื่อให้เกษตรกรพอมีกำไรและทำธุรกิจฟาร์มต่อไปได้ อย่าลืมว่ายังมีต้นทุนอื่นๆอีกที่ล้วนขยับสูงขึ้นทุกตัว ไม่ว่าจะเป็นค่าพลังงาน น้ำมัน แก๊ส หรือแม้แต่ค่าไฟฟ้า รวมถึงค่าแรงงานต่างๆภายในฟาร์ม ทำให้ส่วนต่างจากการขายไข่ทุกวันนี้แทบไม่พอจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ธนาคารแล้ว” นางพเยาว์กล่าว.

ALL เบี้ยวหนี้ “ไพบูลย์” ชี้ไม่กระทบภาพรวมหุ้นกู้

นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน ชี้ ALL ผิดนัดชำระหนี้ ไม่ฉุดภาพรวมตลาดหุ้นกู้ ย้ำยังแกร่ง แม้ทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้น

ALL เบี้ยวหนี้ “ไพบูลย์” ชี้ไม่กระทบภาพรวมหุ้นกู้

ข่าว นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์การลงทุน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงภาวะตลาดตราสารหนี้ ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนของการผิดนัดชำระหนี้ของหุ้นกู้ คงจะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท เพราะการผิดนัดชำระหนี้ในบางบริษัท ถือเป็นเรื่องปกติ ที่จะเกิดขึ้นได้กับบางธุรกิจ ซึ่งในภาพรวมของตลาดตราสารทุนไทยยังไม่มีความน่ากังวลสภาพแวดล้อมโดยรวมยังไปได้ดี โดยหุ้นกู้ที่มีปัญหาถือว่ามีจำนวนน้อยและอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้อยู่ในลักษณะขยายวงกว้างหรือเป็นลูกโซ่ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามแม้ทิศทางดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้นแต่ภาวะเศรษฐกิจที่ยังขยายตัวได้ จะไม่ส่งปัญหาต่อตลาดตราสารหนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยปรับขึ้นไม่สูงมากนัก และมีรูปค่อยเป็นค่อยไป หากเปรียบเทียบกับสหรัฐ ที่มีการปรับดอกเบี้ยในอัตราสูงตลาดตราสารทุนของสหรัฐ ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบแต่ยังคงเติบโตได้ดี “ภาพรวมตลาดตราสารทุนไม่น่ากังวล ถือเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้บางบริษัทที่จะมีปัญหาในการประกอบธุรกิจ หุ้นกู้ที่มีปัญหามีจำนวนน้อย และระดับยอดคงค้างยังเป็นไปตามปกติ” นายไพบูลย์ กล่าวโดยปี 2565 มีจำนวนบริษัทที่ปรับโครงสร้างหนี้และผิดนัดชำระหนี้รวม 24 บริษัท ซึ่งยอดคงค้าง 100,130ล้านบาทและมียอดคงค้างตลาดหุ้นกู้ทั้งระบบ 4,307,400 ล้านบาทคิดเป็น 2.32% สอดคล้องกับทางสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) ที่มองว่าการผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ ข่าวเศรษฐศาสตร์ จะต้องพิจารณาเป็นรายบริษัท ซึ่งบริษัทขนาดใหญ่จะไม่ได้รับผลกระทบ และยังไม่เห็นภาพที่มีปัญหา ซึ่งขณะนี้ภาพรวมการออกหุ้นกู้ยังค่อนข้างเป็นเชิงบวก ทั้งนี้ที่ผ่านมาบริษัท ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด(มหาชน) หรือ ALL แจ้งการผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้รุ่นALL2444 ซึ่งครบกำหนดชำระดอกเบี้ยงวดที่ 5 จำนวน 10,651,495.04 บาท ในวันที่ 3 มกราคม 2566 เนื่องจากบริษัทขาดสภาพคล่อง

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก กลุ่มแบงก์-ค้าปลีกหนุนตลาด

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวกในวันพุธ (21 ธ.ค.) โดยได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มธนาคารที่ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการเปิดเผยผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัท

ตลาดหุ้นยุโรปปิดบวก กลุ่มแบงก์-ค้าปลีกหนุนตลาด

เศรษฐศาสตร์ ไนกี้ได้ช่วยหนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีกของยุโรปปรับตัวขึ้นด้วย นอกจากนี้ แนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในยูโรโซนยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน ทั้งนี้ ดัชนี STOXX 600 ปิดที่ 431.44 จุด เพิ่มขึ้น 7.26 จุด หรือ +1.71% ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 6,580.24 จุด เพิ่มขึ้น 129.81 จุด หรือ +2.01%,
ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 14,097.82 จุด เพิ่มขึ้น 213.16 จุด หรือ +1.54% และ ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 7,497.32 จุด เพิ่มขึ้น 126.70 จุด หรือ +1.72% ตลาดได้แรงหนุนจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น โดยสถาบัน GfK เปิดเผยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเยอรมนีซึ่งมีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในยุโรปนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลในการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากราคาพลังงานที่พุ่งขึ้นนั้นดูเหมือนได้ผลดี นอกจากนี้ ผลสำรวจที่เปิดเผยเมื่อวันอังคารยังบ่งชี้ว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคยูโรโซนเพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค.ด้วย ส่วนผลสำรวจของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษบ่งชี้ว่า บริษัทค้าปลีกของอังกฤษรายงานเกี่ยวกับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในเดือนธ.ค. ข่าวเศรษฐศาสตร์ หุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยนำตลาดปรับตัวขึ้น หลังบริษัทไนกี้ของสหรัฐเปิดเผยรายได้และผลกำไรรายไตรมาสสูงเกินคาด หุ้นกลุ่มค้าปลีกทะยานขึ้น หลังจากหุ้นอาดิดาสและหุ้นพูม่า พุ่ง 6.8% และ 9.5% ตามลำดับ ขณะที่หุ้นเจดี สปอร์ต พุ่ง 6.1% หุ้นกลุ่มธนาคาร ปรับตัวขึ้น 1.6% โดยได้แรงหนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น ส่วนหุ้นรายตัวที่บวกขึ้นนั้น หุ้นฟิลิปส์ บริษัทเทคโนโลยีด้านสุขภาพของเนเธอร์แลนด์ พุ่งขึ้น 5.7% หลังเปิดเผยว่า การทดสอบอุปกรณ์ช่วยหายใจของบริษัทนั้นได้ผลในเชิงบวก

CKPower โชว์กำไรไตรมาส 3/65 แตะ 1,462 ล้าน แม้ราคาก๊าซกระทบค่าใช้จ่าย

CKPower โชว์กำไรไตรมาส 3/65 แตะ 1,462 ล้าน กำไรสุทธิสูงสุดในประวัติการณ์ แม้ราคาก๊าซกระทบค่าใช้จ่าย

เศรษฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 11 พ.ย.65 นายธนวัฒน์ ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CKP กล่าวว่า ในไตรมาสที่ 3/65 กลุ่มบริษัท CKPower มีผลการดำเนินงานเติบโตต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของรายได้และกำไรสุทธิ โดยมีรายได้รวม 3,495 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 986 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีรายได้รวม 2,509 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 39% แม้ว่าบริษัทฯ จะต้องเผชิญกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ตลาดโลก ทำให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น 964 ล้านบาท แต่ก็มีปัจจัยบวกจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วมเพิ่มขึ้น 235 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23% ตามปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ไหลผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ในไตรมาส 3 ที่มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 38% ทำให้โรงไฟฟ้ามีระดับการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าใกล้เคียงกับกำลังการผลิตสูงสุดตลอดทั้งไตรมาส 3 ของปีนี้ ส่งผลให้บริษัทมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัทจำนวน 1,462 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 227 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้น 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 1,235 ล้านบาท สำหรับผลการดำเนินงานของ CKPower ในช่วง 9 เดือนของปีนี้ก็เติบโตขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนเช่นกัน โดย บริษัทฯ มีรายได้รวม 8,697 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,792 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีรายได้รวม 6,905 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 และมีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นของบริษัท 2,364 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 308 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นร้อยละ 15 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไร 2,057 ล้านบาท โดยปัจจัยบวกมาจากการรับรู้ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการที่ควบคุมร่วมกันและบริษัทร่วม ที่เติบโตขึ้นถึง 33% หรือโตขึ้น 505 ล้านบาท ตามปริมาณน้ำไหลผ่านโรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี ที่มากขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 26% ทำให้บริษัทฯ มีกำไรสุทธิถึง 2,364 ล้านบาท ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ นายธนวัฒน์ กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรีมีผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ทำให้ CKPower มีกำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสมให้แก่ผู้ถือหุ้น

CKPower โชว์กำไรไตรมาส 3-65 แตะ 1,462 ล้าน แม้ราคาก๊าซกระทบค่าใช้จ่าย

โดยเมื่อวันที่ 29 ก.ย.65 ที่ผ่านมา ทริสเรทติ้งได้คงอันดับเครดิตองค์กรของ CKPower ที่อันดับ “A” แนวโน้มอันดับเครดิต “คงที่” จากการที่บริษัทฯ มีกระแสเงินสดรับสม่ำเสมอ

และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวกับผู้ซื้อที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้และ ข่าวเศรษฐศาสตร์ ภาพรวมผลการดำเนินงานตลอดทั้งปี 2565 น่าจะมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการพลังงานสะอาด ที่เริ่มสร้างความแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่บริษัทฯ ขณะเดียวกัน เป้าหมายการเพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำของ CKPower จะช่วยสนับสนุนเป้าหมายของบริษัทฯ ที่มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายของประเทศไทยที่ต้องการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593 นอกจากนี้ CKPower ยังได้รับการคัดเลือกให้เป็น ‘หุ้นยั่งยืน’ ประจำปี 2565 หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และได้รับรางวัล Rising Star Sustainability Awards เมื่อวันที่ 28 ต.ค.65 ที่ผ่านมา จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านความยั่งยืนของบริษัทอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจและสังคมให้แก่ประเทศได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว