วิกฤติอาหารไทยปี 2566 พึ่งพาวัตถุดิบผูกขาด

วิกฤติอาหารไทยปี 2566 พึ่งพาวัตถุดิบผูกขาด

นับวันแนวโน้ม “สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ” จะถูกทำลายส่งผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพต้องเผชิญ “วิกฤติสิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์” สอดรับการขาดแคลนอาหารอันเป็นปัญหาตามมาในอนาคต

ข่าว กระทั่งไม่นานมานี้ Thai Climate Justice for All ร่วมกับสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากร และศูนย์มานุษย วิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) “จัดการประเมินสถานการณ์นิเวศสิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหารปี 65 และทิศทางปีหน้า พร้อมข้อเสนอนโยบายสำหรับรัฐบาล” อันเกิดจากมุมมองนักขับเคลื่อนภาคประชาสังคมและนักวิชาการทำงานกับประชาชนในแต่ละด้าน สะท้อนปัญหาสิ่งแวดล้อมปี 2565 เกิดจากรากเหง้าปัญหาใด แล้วในปี 2566 ประเทศไทยกำลังเผชิญกับอะไรกันบ้าง?นั้น วิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ เลขาธิการมูลนิธิชีววิถีหรือ BIOTHAI กล่าวในหัวข้อความมั่นคงทางอาหารและนิเวศเกษตรว่า ตามหลักความมั่นคงทางอาหารนั้น “ทุกคนต้องมีอาหารเพียงพอ ปลอดภัย โภชนาการครบถ้วน” ควบคู่กับคำนิยาม “อธิปไตยทางอาหาร” อันเป็นสิทธิผู้ที่เกี่ยวกับระบบอาหารมีอำนาจจัดการฐานทรัพยากร การพัฒนาการผลิต การกระจายอาหาร และการบริโภค สิ่งสำคัญประชาชนต้องมีส่วนร่วมออกนโยบายที่เกี่ยวข้องด้วย ประการต่อมา “อาหารมักอยู่ภายใต้ระบบนิเวศเกษตร” ในการผลิตอาหารให้ยั่งยืนนั้นต้องมีความสัมพันธ์กับ “สิ่งแวดล้อมที่หลากหลายทางชีวภาพ และมีความสัมพันธ์ทางสังคม” หากย้อนไปช่วง 6-7 ทศวรรษที่ผ่านมา

วิกฤติอาหารไทยปี 2566 พึ่งพาวัตถุดิบผูกขาด

“เป็นยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม” มักยืนบนพื้นฐานที่อาหารไม่มั่นคงอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ “องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO)” ประเมินพันธุ์พืชที่ใช้มีเพียง 10% เท่านั้นจากเคยใช้เมื่อ 100 ปีก่อน ส่วนที่สูญหายเกิดจากการขยายเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว “พันธุ์สัตว์”

ก็เหลือแค่ครึ่งเดียวเพราะอุตสาหกรรมการเกษตรพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ภายใต้บทบาทการผลักดันของบรรษัทขนาดใหญ่ทั้งหลาย ทำให้เกิดปัญหาการควบคุมพันธุกรรมสัตว์ และพันธุ์พืชที่ใช้ผลิตอาหาร สังเกตปัจจุบันตลาดเมล็ดพันธุ์ 75% อยู่ในมือ 8 บริษัท ทั้ง 99% ของสายพันธุ์ไก่เนื้อถูกครองโดย 4 บริษัท และมีบริษัท 3 แห่ง ครองสายพันธุ์ไก่ไข่เกือบ 100% แล้วช่วงการระบาดไข้หวัดนก และอหิวาต์แอฟริกาหมู ทำให้เนื้อสัตว์หายออกจากตลาดจำนวนมาก ผลที่ตามมา “ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพราะการผูกขาดสายพันธุกรรมนี้” ทั้งที่ฐานการผลิตสายพันธุ์สัตว์อยู่ในเอเชีย “โดยเฉพาะสายพันธุ์ไก่บ้านแหล่งกำเนิดเก่าแก่ที่สุดอยู่ใน จ.นครราชสีมา” แม้แต่ “สหรัฐอเมริกา” ก็นำไปใช้พัฒนาปรับปรุงสายพันธุกรรมกระจายไปทั่วโลก แต่คนไทยกลับพึ่งพาไม่กี่บริษัทนี้ หนำซ้ำความถดถอยของเกษตรกรรมในระบบการผลิตอาหารนี้ “USDA สหรัฐอเมริกา” ข่าวอาหาร เคยวิจัยประเมินพบว่า “คุณค่าทางโภชนาการของพันธุ์พืชที่ใช้ผลิตอาหาร” ตั้งแต่ปี 1950 ถึงปัจจุบันนั้น “คุณค่าของผักผลไม้ 43 ชนิดลดลงทั้งสิ้น” เช่น วิตามินเอ ลดลง 18% วิตามีนบี 2 ลด 38% วิตามินซี 15% เหล็ก 15% แคลเซียม 16% สะท้อนว่าระบบการผลิตในปัจจุบัน “ทำลายคุณค่าอาหาร” ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงพันธุกรรมให้เหลืออยู่ไม่กี่ชนิดเพื่อเน้นผลผลิตให้เพิ่มมากขึ้น แล้วงานวิจัยที่น่าสนใจจาก “ม.วอชิงตัน ร่วมกับ ม.ปักกิ่ง” ท่ามกลางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะคาร์บอนอย่างกรณี “ข้าว” ผลกระทบของสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง