ดื่มด่ำกับรสชาติสดใหม่ของฟยอร์ดเทราต์จากนอร์เวย์ ที่ห้องอาหารโกจิ คิทเช่น + บาร์

ดื่มด่ำกับรสชาติสดใหม่ของฟยอร์ดเทราต์จากนอร์เวย์ ที่ห้องอาหารโกจิ คิทเช่น + บาร์

ฟยอร์ดเทราต์แหวกว่ายทวนกระแสธารน้ำแข็งที่ละลายผสมกับน้ำจืดที่ไหลมาจากภูเขา อาศัยอยู่ในแหล่งธรรมชาติอันอุดมสมบูณ์ของประเทศนอร์เวย์

อาหาร ทำให้กลายมาเป็นปลาสดคุณภาพสูงที่ให้เนื้อสัมผัสนุ่ม อร่อย กรุบเด้ง และฉ่ำ รสชาติหวานละมุน มีสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเหลือเชื่อ และเป็นวัตถุดิบยอดนิยมของเชฟทั่วโลก เพื่อสร้างการรับรู้ในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยเกี่ยวกับความโดดเด่นของฟยอร์ดเทราต์ หรือที่รู้จักกันในนาม ‘อัญมณีแห่งฟยอร์ดนอร์เวย์’ ทาง สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้จับมือกับ ธรรมชาติซีฟู้ด และ โรงแรม แบงค็อก แมริออท มาร์คีส์ ควีนส์ปาร์ค จัดโปรโมชั่น “Ocean-fresh Flavor of Fjord Trout” ที่ห้องอาหารโกจิ คิทเช่น + บาร์ แหล่งรวมอาหารนานาชาติ เชิญชวนแขกมาดื่มด่ำกับคอร์สเมนูอาหารทะเลและฟยอร์ดเทราต์จากนอร์เวย์อันเลิศรส รังสรรค์โดย เชฟคริสเตียน อองเดร เพตเตอเซน ตัวแทนประเทศนอร์เวย์ในการแข่งขัน Bocuse d’Or Europe เมื่อวันที่ 14 – 17 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ในโซนไลฟ์สเตชั่น เฉพาะช่วงมื้อเย็นของวันพฤหัสบดี – วันอาทิตย์ มื้อกลางวันวันเสาร์ และมื้อสายวันอาทิตย์ โดยเชฟคริสเตียน ได้ถือโอกาสเนรมิตคอร์สอาหารจานเด็ดถึง 3 เมนู ได้แก่ “Norwegian Fjord Trout Aurora Borealis” (ฟยอร์ดเทราต์รมควันอบกับหน่อไม้ฝรั่งตุ๋น ถั่วงอก แฮมและซาบายอนเนยสีน้ำตาล) “East Meets West” (เซวิเช่ฟยอร์ดเทราต์กับอะโวคาโดครีม แตงกวาดอง ส้มโอ สลัดสาหร่าย และซอสมะเขือเทศเขียวและแอปเปิ้ลเขียวปรุงรสด้วยยูซุ) และ “Heritage of Lofoten” (ฟยอร์ดเทราต์รมควันกับ ซอสครีมเปรี้ยวกับคาเวียร์และต้นหอมฝรั่ง และวาฟเฟิลกรอบแบบนอร์ดิก)โปรโมชั่นฟยอร์ดเทราต์จะมีถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ที่ห้องอาหารโกจิ คิทเช่น + บาร์ ฟยอร์ดเทราต์ที่นำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบุฟเฟ่ต์นี้ ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดจากทางธรรมชาติซีฟู้ด เพื่อให้แน่ใจว่าได้ตามมาตรฐานคุณภาพสูงสุด และสังเกตได้จากสัญลักษณ์ Seafood from Norway ที่บ่งบอกถึงแหล่งที่มาของอาหารทะเลจากนอร์เวย์

ดื่มด่ำกับรสชาติสดใหม่ของฟยอร์ดเทราต์จากนอร์เวย์ ที่ห้องอาหารโกจิ คิทเช่น + บาร์

นายฉู ตงหยู ผู้อำนวยการ FAO กล่าวในการแถลงข่าวว่า “ราคาอาหาร, ปุ๋ย, อาหารสัตว์ และเชื้อเพลิงที่พุ่งสูงขึ้น ตลอดจนภาวะการเงินที่ตึงตัว กำลังทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องทุกข์ทรมาน”

“ประชาชนประมาณ 19 ล้านคนอาจเผชิญกับภาวะขาดสารอาหารเรื้อรังทั่วโลกในปี 2566 ข่าวอาหาร หากการผลิตอาหารทั่วโลกลดลงและอุปทานอาหารจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ รวมถึงรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ความพร้อมด้านอาหารทั่วโลกลดลง” นายฉูกล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงานเมื่อวันพุธ (29 มิ.ย.) ว่า ทั้ง 2 หน่วยงานของสหประชาชาติ (UN) ระบุในรายงานร่วมเรื่อง “Agricultural Outlook for 2022-2031” ว่าภาคเกษตร-อาหารจำเป็นต้อง “เลี้ยงประชากรที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในลักษณะที่ยั่งยืน” นอกจากนี้ รายงานระบุว่า ภาคเกษตร-อาหารต้องรับมือกับผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศและผลกระทบทางเศรษฐกิจ ตลอดจนอุปทานอาหารที่หยุดชะงักเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รายงานดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่ “การประเมินแนวโน้มระยะกลางสำหรับตลาดสินค้าเกษตร” ทั้ง 2 องค์กรเน้นย้ำถึง “บทบาทสำคัญของการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินและการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มเติมในด้านการผลิต, เทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนทุนด้านบุคลากร เพื่อเพิ่มความสามารถในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร” ทั้งนี้ ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวหลังการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากนี้ ต้นทุนการผลิตและการขนส่งก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เนื่องจากทั้งรัสเซียและยูเครนเป็น “ซัพพลายเออร์หลักด้านธัญพืช” รายงานระบุว่า การบริโภคอาหารทั่วโลก “คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.4% ต่อปีในช่วงทศวรรษหน้า และจะได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของจำนวนประชากรเป็นหลัก”